ศูนย์ข้อมูลสำหรับนักท่องเที่ยว ประเพณีกุ้มข้าวใหญ่ตำบลทับสวาย Kum Khao Yai traditionTourist Information Center.

|
ประวัติและความเป็นมาประเพณีกุ้มข้าวใหญ่ตำบลทับสวาย ประจำปี 2565
	
ตำบลทับสวาย อำเภอห้วยแถลง จังหวัดนครราชสีมา มีจำนวนหมู่บ้านทั้งสิ้น 8 หมู่บ้าน ก่อตั้งมาเมื่อปี พุทธศักราช 2468 หรือประมาณ 94 ปีมาแล้ว โดยคนกลุ่มแรกที่มาตั้งหมู่บ้าน ได้อพยพมาจากบ้านหนองหว้า ตำบลหนองหว้า อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ และจากบ้านเป๊กดำ อำเภอพยัคภูมิพิสัย จังหวัดมหาสารคาม สำหรับงานประเพณีกุ้มข้าวใหญ่ของชาวตำบลทับสวาย นั้น เมื่อก่อนปีไหนฝนดีถึงทำกัน ส่วนมากจะทำกันที่บ้าน ต่อมาก็เริ่มมาทำกันที่วัดเพื่อความเป็นสิริมงคล  เมื่อก่อน ปู่ย่าตายาย พาทำ ปีไหนฝนแล้งก็ยกเว้น ปีไหนฝนดีจึงทำ และในตอนสมัยนั้น เจ้าอาวาส คือ พระอาจารย์ จันที  สุขุมาโล  ท่านมีแนวคิดว่า  ถ้าฝนดีก็ทำบุญคูณลานและเก็บข้าวไว้แล้วทำยุ้งข้าวขึ้น และได้จัดตั้งธนาคารข้าวขึ้น ในปี พ.ศ. 2528 เพื่อให้ชาวบ้านยืมข้าวไปกิน โดยมีกฎกติกาว่า ยืม 1 กระสอบ จะมีดอกเบี้ย  1  ถัง และนายคำพา  แก้วนะรา เป็นประธานคณะกรรมการธนาคารข้าวเปลือกและมีแนวทางว่า เราจะรักษาประเพณีนี้ไว้ให้ครบตามประเพณี ฮีต 12 คลอง 14 หรือประยุกต์ใช้เป็นบางกรณีแต่ละปี ก็เลยให้มีการต่อเนื่องว่าถึงฝนจะแล้งหรือฝนจะดี ก็จะต้องทำไม่อยากให้เว้นอยากให้ทำเป็นประเพณีเป็นประจำทุกปี  จึงได้เริ่มตั้งแต่ปี 2529  เป็นต้นมาจนเท่าทุกวันนี้
ในส่วนของวิวัฒนาการของการจัดงานประเพณีกุ้มข้าวใหญ่(บุญคูณลาน)ตำบลทับสวาย นั้น ได้มีการส่งเสริมให้เกิดการจัดงานร่วมกับส่วนราชการ สถานศึกษา กลุ่มองค์กร และประชาชนตำบลทับสวาย  ประเพณีกุ้มข้าวใหญ่ตำบลทับสวาย นั้น จะเป็นการผนวกกันระหว่างประเพณีบุญต่าง ๆ เช่น บุญคูญลาน , บุญข้าวพันก้อน , บุญข้าวจี่ , บุญผะเหวด , บุญเทศน์มหาชาติ  ฯลฯ นอกจากนี้ยังมีการรวมเกี่ยวกับพิธีสงฆ์ต่าง ๆ เพื่อสร้างความเป็นสิริมงคลในแต่ละช่วงพิธีการอีกด้วย ในส่วนของกิจกรรมต่าง ๆ ที่ตำบลทับสวายได้ดำเนินการสืบทอดกันมามีดังต่อไปนี้
กิจกรรมที่ดำเนินการจัดประเพณีกุ้มข้าวใหญ่ตำบลทับสวาย   
	1.  พิธีบายศรีสู่ขวัญข้าว  
		แต่เดิมนั้นจะเป็นการรวบรวมข้าวเปลือกจากชาวบ้านมากองรวมกัน โดยแบ่งเป็นกองข้าวจ้าว และกองข้าวเหนียว และนำฉัตรข้าวที่ประดับด้วยรวงข้าวมาปักที่บริเวณยอดกองข้าว และจัดทำพิธีสู่ขวัญข้าว และบูชาพระแม่โพสพ แต่ในช่วงปัจจุบันนั้น   จะมีการร่วมกันคัดแยกรวงข้าว มามัดเป็นรวง ตามสัดส่วนของแต่ละส่วนที่จะนำไปใช้และใช้ตอกไม้ไผ่มัดอีกที  หลังจากนั้นจะนำรวงข้าวมาขึ้นรูปกับไม้ไผ่ ฉัตรข้าว หรืออื่น ๆ ตามลวดลายที่คิดไว้  ในการประดับตกแต่งให้เป็นกำแพงรวงข้าว การจัดทำปราสาทรวงข้าว มีประตูทางเข้า 4 ทิศ และการจัดทำฉัตรข้าว ซึ่งได้มีการสร้างสรรค์จากช่างผู้มีฝีมือชำนาญการมีความวิจิตรงดงามเป็นอย่างยิ่ง ในส่วนของพิธีบายศรีสู่ขวัญข้าวนั้น จะประกอบพิธีกรรมโดยพราหมณ์ประกอบพิธีที่มีความรู้โดยเฉพาะในการประกอบพิธี โดยจะมีผู้เข้าร่วมพิธีกรรมคือผู้สูงอายุที่มีอายุยืนมาร่วมกระทำพิธีในครั้งนี้ด้วย โดยหมายถึงการเจริญงอกงามและความยืนยาวของผู้ประกอบสัมมาชีพเกษตรกรรมและชาวนา ให้ได้ผลผลิตที่ดี โดยในระหว่างประกอบพิธีสู่ขวัญข้าวนั้น ผู้สูงอายุที่ร่วมพิธีจะโกยข้าวในพิธีใส่เก็บไว้ในกระบุงซึ่งเรียกว่า “ขวัญข้าว” โดยจะนำขวัญข้าวที่ประกอบพิธีสู่ขวัญข้าวนี้ไปถวายแด่พระภิกษุสงฆ์เพื่อความเป็นสิริมงคลและเป็นอันเสร็จพิธีทั้งหมด
	2. ประเพณีแห่ข้าวพันก้อน  
		ประเพณีแห่ข้าวพันก้อนนั้น จะเป็นการร่วมบุญของชาวบ้านในการนำข้าวเหนียวมาเพื่อบูชาสักการะในศาลาอุปคุต ศาลาพระแม่โพสพ และฉัตรข้าวทั้ง 8 ทิศ  โดยมีความเชื่อของชาวอีสานที่ว่าเป็นการทำบุญในทุกทิศทุกทาง และข้าวพันก้อนนั้น ก็เปรียบเสมือนกับการรวมจิตใจกันในการบูชาคุณของข้าว พิธีนี้จะดำเนินขึ้นในเวลา ตี 4 ซึ่งเช้ามากก่อนที่จะมีการกระทำพิธีบายศรีสู่ขวัญข้าว และกิจกรรมอื่น ๆ ต่อไป ในรูปแบบของประเพณีแห่ข้าวพันก้อนนั้น จะเป็นในรูปแบบการเดินรอบศาลาการเปรียญจำนวน 3 รอบ โดยตามทางเดินจะมีคบไฟตะเกียงส่องสว่างช่วยในการมองเส้นทางเดินซึ่งมีความสวยงามเป็นอย่างยิ่ง

	3. ขบวนแห่ประเพณีกุ้มข้าวใหญ่ตำบลทับสวาย   
		ในทุกๆ ปี เมื่อมีการกำหนดการจัดงานประเพณีกุ้มข้าวใหญ่ ประชาชนทั้งในตำบลทับสวาย และภายในอำเภอห้วยแถลง จะทราบดีว่าจะต้องมีการร่วมขบวนแห่ประเพณีกุ้มข้าวใหญ่ตำบลทับสวาย ที่เดินทางจากบริเวณโรงเรียนชุมชนบ้านทับสวาย ไปยัง วัดโคกโภคา โดยจะต้องเริ่มต้นจากการกระทำพิธีเชิญพระอุปคุตขึ้นจากบึงน้ำซึ่งพระอุปคุตนั้นจะเป็นเหมือนดั่งพระประธานในการนำขบวนแห่ดังกล่าว ฯ ขบวนแห่ประเพณีกุ้มข้าวใหญ่ตำบลทับสวายนี้  ได้จัดขบวนและแห่มาอย่างต่อเนื่องไม่น้อยกว่า 30 ปี สำหรับขบวนแห่ประเพณีกุ้มข้าวใหญ่ตำบลทับสวาย นั้น ได้มีภาคส่วนที่ร่วมขบวนคือ โรงเรียนชุมชนบ้านทับสวาย,วัดโคกโภคา , องค์การบริหารส่วนตำบลทับสวาย , ฝ่ายปกครอง , หน่วยงานราชการ และประชาชนตำบลทับสวาย ซึ่งถือเป็นความภาคภูมิใจของคนในท้องถิ่นที่ทุกภาคส่วนได้มีส่วนร่วมและสร้างความสมัครสมานสามัคคี ผ่านการแสดงออกผ่านกิจกรรมในครั้งนี้
	4. การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา 
		ในการจัดงานประเพณีกุ้มข้าวใหญ่ตำบลทับสวาย นั้น เป็นไปในรูปแบบในเรื่องของการรวมบุญต่าง ๆ ผนวกเข้าไว้ด้วยกัน ซึ่งจะต้องมีการประกอบพิธีกรรมทางศาสนาเข้ามาร่วมด้วย เช่น การประกอบพิธีบายศรีสู่ขวัญข้าว , การประกอบพิธีเชิญพระอุปคุต , การเทศน์มาลัยหมื่นมาลัยแสนของพระภิกษุสงฆ์ ,การเทศน์สังกาส และการอ่านคาถาพัน ของพระภิกษุสงฆ์ ,  พิธีเจริญพระพุทธมนต์เย็นของพระภิกษุสงฆ์ , การเทศน์มหาชาติ ๓ ธรรมมาศน์ของพระภิกษุสงฆ์ ฯลฯ โดยพิธีกรรมและกิจกรรมเหล่านี้ล้วนแล้วแต่เป็นการเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลในการจัดงาน ที่ตำบลทับสวายได้ปฏิบัติและสืบทอดมาอย่างยาวนาน
	5. การจัดนิทรรศการต่าง ๆ  
		ในการจัดงานประเพณีกุ้มข้าวใหญ่ตำบลทับสวาย ในประมาณ 5 ปีที่ผ่านมานั้น คณะกรรมการจัดงานได้มีมติในที่ประชุมว่าจะต้องมีการแสดงนิทรรศการเพื่อให้ความรู้ในด้านต่าง ๆ ที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเพณีกุ้มข้าวใหญ่ ทั้งในด้านของความเป็นมา และความรู้ด้านอื่น ๆ ที่เกี่ยวกับข้าวพร้อมกับน้อมนำแนวทางด้านเศรษฐกิจพอเพียง ของในหลวงรัชกาลที่ 9 มาให้ความรู้ประชาชนอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีการจัดแสดงนิทรรศการของหน่วยงานราชการ กลุ่มองค์การ ที่นำมาร่วมจัดในประเพณีกุ้มข้าวใหญ่ คือ การแสดงสินค้า OTOP ในตำบลทับสวายและอำเภอห้วยแถลง  ซึ่งการจัดกิจกรรมดังที่กล่าวมานั้น ล้วนแล้วแต่เป็นการให้ความรู้ทั้งทางตรงและทางอ้อม อีกทั้งยังเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในชุมชนอีกทางหนึ่งด้วย 

หลักการและเหตุผลในการจัดงาน

		ประเพณีกุ้มข้าวใหญ่ เป็นการทำบุญของชาวนาภาคอีสานที่ถือปฏิบัติกันมายาวนาน เป็นประเพณีการทำบุญที่ชาวนาเก็บเกี่ยวข้าวและจะนำมานวดที่ลานนวดข้าว ก่อนนำไปเก็บที่ยุ้งฉาง เรียกว่าบุญคูณลาน โดยนิมนต์พระสงฆ์มาเจริญพระพุทธมนต์ และประกอบพิธีมงคลเกี่ยวกับพิธีสงฆ์ และพิธีปฏิบัติตามความเชื่อและภูมิปัญญาของบรรพบุรุษในการตระหนักและเห็นคุณค่าถึงความสำคัญในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม   รวมถึงเป็นการส่งเสริมให้คนในชุมชนได้ออกมาร่วมกิจกรรมพบปะสังสรรค์ เพื่อความสมัคร สมาน สามัคคี มีความรักใคร่กันของคนในท้องถิ่น และเป็นการแสดงออกถึงภูมิปัญญาท้องถิ่น ที่ปฏิบัติสืบทอดกันมาจวบจนปัจจุบัน องค์การบริหารส่วนตำบลทับสวาย   จึงร่วมกับประชาชน  และส่วนราชการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง     และได้กำหนดการจัดงานประเพณีกุ้มข้าวใหญ่ ประจำปี  ๒๕๖5  ณ  วัดโคกโภคา บ้านทับสวาย หมู่ที่  ๑ ในระหว่างวันที่  18-20  กุมภาพันธ์ 2565  เป็นสถานที่ประกอบพิธี       โดยในปีนี้การจัดงานประเพณีกุ้มข้าวใหญ่ ๒๕๖5  ได้จัดกิจกรรมต่าง ๆ ตามมติคณะกรรมการจัดงานประเพณีกุ้มข้าวใหญ่ ประจำปี ๒๕๖5 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อดำรงไว้ซึ่งไว้วัฒนธรรมประเพณีวิถีชีวิตของเกษตรกรและประชาชนตำบลทับสวาย   ในแต่ละบ้าน/คุ้ม ที่มีวัด หรือสถานที่ประกอบพิธีสงฆ์ ดำเนินการตามประเพณีของภาคอีสาน เพราะความเชื่อที่ว่าเมื่อมีการจัดประเพณีเหล่านี้แล้วจะเป็นการเสริมสร้างความเป็นสิริมงคลต่อตนเอง ครอบครัว และเกิดความผาสุข ร่มเย็น อีกทั้งยังเป็นการการประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยว และการกระตุ้นเศรษฐกิจภายในพื้นที่ตำบลทับสวาย อีกด้วย

ประเพณีกุ้มข้าวใหญ่  ชาวอีสานจะเรียกอีกอย่างว่า  บุญประทาย  บุญคูณลาน   จะเป็นระหว่างเดือนยี่  เป็นช่วงฤดูกาลเก็บเกี่ยวข้าวเสร็จ  ชาวนาจะนำข้าวมาขึ้นยุ้ง ขึ้นฉางไว้เสร็จแล้วจะไปเรียกเอาขวัญข้าวที่ท้องนาขึ้นมาอยู่ที่ยุ้งฉางด้วย  เพราะมีความเชื่อว่าข้าวนั้นก็คือพระแม่โพสพที่คอยมาเลี้ยงชาวนา  
	ทุกวันนี้ชาวบ้านจะมารวมกันทำที่วัดโดยจะให้แต่ละครอบครัวเอาข้าวเปลือกมารวมกองกันไว้ที่ลานวัด   ตอนเย็นก็นิมนต์พระสงฆ์เจริญพระพุทธมนต์   ตอนเช้าก็ทำบุญตักบาตร  พระสงฆ์จะให้พรประพรมน้ำพระพุทธมนต์กับผู้ที่มาร่วมงานและกองด้วย แล้วก็เชิญพราหมณ์ทำพิธีสู่ขวัญข้าวเสร็จแล้วจะมีการแจกจ่ายข้าวเปลือกมัดเป็นถุงเล็กๆให้กับผู้คนที่มาร่วม  เพื่อนำไปเก็บที่ยุ้งไว้เป็นขวัญข้าว   การทำบุญนี้ขึ้นก็เพื่อเป็นการบูชาพระแม่โพสพที่ได้เลี้ยงชาวนามา นอกจากนี้ยังมีการจัดสถานที่ประกอบการสู่ขวัญข้าว เช่น ฉัตรกุ้มข้าว , ฉัตรข้าวเก้าชั้น , และประดับตกแต่งบริเวณกองข้าวตามภูมิปัญญาชาวบ้านที่สืบทอดกันมา
	ประเพณีบุญข้าวจี่ เป็นประเพณีการทำบุญของชาวอีสานอีกบุญหนึ่งที่ได้สืบกันมา  โดยปรารภถึงนางปุณณทาสี  ซึ่งเป็นคนใช้ของมหาเศรษฐีที่ได้ให้ทานแก่พระพุทธเจ้า  สิ่งของที่ถวายทานนั้นก็คือแป้งจี่ที่ตัวเองเอาใส่พกผ้ามาเพื่อไว้กินเวลาหิว   แต่เมื่อได้มาเห็นพระพุทธเจ้าแล้วเกิดความเลื่อมใสอยากถวายทาน จึงเอาแป้งจี่ที่ตัวเองนำมานั้นถวายเป็นทานเมื่อพระพุทธเจ้าฉันท์เสร็จแล้วก็ให้พร จึงทำให้นางปุณณทาสี  มีดวงตาเห็นธรรมสำเร็จเป็นโสดาบัน
	การทำบุญข้าวจี่นี้นิยมจะทำกันในช่วงเดือนสาม  บางแห่งจะทำในวันขึ้น  ๑๕   ค่ำ  เดือน ๓  เพราะเป็นวันสำคัญในทางพระพุทธศาสนาคือ เป็นวันมาฆบูชา  โดยจะไปรวมกันที่วัดบนศาลาการเปรียญ   การทำบุญข้าวจี่นี้ทำขึ้นเพื่อเป็นการขจัดความตระหนี่ที่เกิดขึ้นในจิตใจของตนเองให้หายไป
	ประเพณีบุญมหาชาติหรือบุญเผวส   มูลเหตุแห่งการทำบุญมหาชาติ   ในหนังสือพระมาลัยเที่ยวนรกสวรรค์  กล่าวไว้ตอนหนึ่งว่า พระมาลัยท่านได้ขึ้นไปไหว้พระเกศแก้วจุฬามณีบนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ และได้ไปพบพระศรีอาริยเมตตรัย  ที่จะได้ลงมาตรัสรู้เป็นพระสัมมาสัมพุทธเจ้าองค์ต่อไป  ได้ปราศรัยถามถึงชาวโลกมนุษย์  เมื่อพระองค์ทรงทราบว่าชาวมนุษย์ยังทำบุญให้ทานอยู่จึงปรารภกับพระมาลัยว่า  ถ้าใครปรารถนาอยากจะพบศาสนาพระศรีอาริเมตตรัยจึงได้พากันทำบุญเผวสและฟังเทศน์มหาชาติสืบมาจนกระทั่งบัดนี้
	การทำบุญมหาชาติหรือบุญเผวส  จะมีการฟังเทศน์เรื่องพระเวสสันดรชาดกประกอบด้วยคาถา  ๑,๐๐๐  พระคาถา  ซึ่งจะจัดเป็นกัณฑ์ไว้  ๑๓  กัณฑ์  เป็นชาดกที่ยืดยาวมาก  สำนวนในการเทศน์ง่ายไพเราะ  ฟังได้ความรู้และสามารถนำไปปฏิบัติได้ ชาวอีสานนิยมจัดในเดือน ๔ เพราะเป็นฤดูกาลที่ว่างเว้นจากการทำนา
	ประเพณีแห่ข้าวพันก้อน เป็นบุญประเพณีตามฮีตสิบสองของชาวอีสาน เป็นประเพณีการบริจาคทานครั้งยิ่งใหญ่ ซึ่งช่วงนี้น้ำเริ่มลดลงข้าวปลาอาหารกำลังอุดมสมบูรณ์ ชาวบ้านจึงพร้อมใจกันทำทาน เล่นสนุกสนานรื่นเริง โดยจัดประเพณีแห่ข้าวพันก้อนในช่วงเช้าเวลาประมาณ ๐๔.00 น. ชาวบ้านจะนำข้าวเหนียวที่ปั้นเป็นก้อนมาใส่ที่เฉลวฉัตรข้าวพันก้อน ทั้ง ๘ ทิศ ประดับตกแต่งด้วยเฉลวข้าว ๘ ทิศ    และธงตุงจำนวน ๘ ต้น เป็นส่วนประกอบในการดำเนินการจัดสถานที่

	กิจกรรมที่ตำบลทับสวายดำเนินการจัดที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับประเพณีกุ้มข้าวใหญ่
1.  การรวบรวมข้าวเปลือก และรวงข้าวจากชาวบ้านตำบลทับสวายและประชาชนทั่วไป
 นำมาประดับกองกุ้มข้าวและฉัตรข้าวตามภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมา
2.  การเทศน์มาลัยหมื่นมาลัยแสนจากพระภิกษุสงฆ์
3.  การเทศน์สังกาสและคาถาพันจากพระภิกษุสงฆ์
4.  การเทศน์มหาชาติ ๓ ธรรมมาสน์จากพระภิกษุสงฆ์
5.  การดำการพิธีเชิญพระอุปคุตขึ้นจากน้ำ
6.  การจัดทำขบวนแห่ประเพณีกุ้มข้าวใหญ่ ในรูปขบวนต่าง ๆ
7.  การจัดประเพณีแห่ข้าวพันก้อน
8.  การประกอบพิธีสู่ขวัญข้าว
	9.  การแสดงในพิธีบวงสรวงและต้อนรับแขกผู้มีเกียรติ 
	10. การจัดนิทรรศการต่าง ๆ จากหน่วยงานราชการและอื่น ๆ
11.  การดำเนินการพิธีเจริญพระพุทธมนต์เย็นของพระภิกษุสงฆ์
12.  การแสดงความสามารถของประชาชนตำบลทับสวายและอำเภอห้วยแถลง 
13.  การถวายเจดีย์ข้าวเปลือก
14.  การแสดงหมอลำกลอนพื้นบ้าน
15.  การประชาสัมพันธ์เชิงท่องเที่ยวและร่วมกิจกรรมในงานประเพณี
16.  การอำนวยความสะดวกให้กับประชาชน เช่น การให้ข้อมูลและการประชาสัมพันธ์ , การจัดระเบียบการจราจร , การบริการเครื่องดื่ม , ห้องสุขา และการรักษาความปลอดภัย
17.  การคัดกรองแขกผู้มีเกียรติและผู้เข้าร่วมงานเกี่ยวกับด้านสาธารณสุข
18.  การจัดทำปราสาทรวงข้าวที่ยิ่งใหญ่และสวยงาม

History of Kum Khao Yai tradition, Thap Sawai Sub-district
Thap Sawai sub-district, Huai Thalaeng district, Nakhon Ratchasima province, Thailand. There are a total of 8 villages, established in the year 1925 or about 97 years ago by the first group of people who came to set up the village. They have migrated from Ban Nong Wa, Nong Wa sub-district, Phutthaisong district, Buriram Province and from Ban Pek Dam, Phayak Phum Phisai district, Maha Sarakham Province. Back in the day what year was good to do, Most of them are done at home. Later, they began to come together at the temple for good fortune. In the past, the ancestors took the people to do it which year it rains and drought is an exception. And at that time, the abbot was Phra Ajarn Chandee Sukhumalo. He had an idea that if the rain is good, make merit and multiply the yard and collect the rice and build a barn. And the rice bank was established in 1985 for villagers to borrow rice to consume. There is a rule that borrowing 3 sacks will have 1 bucket of interest. Mr. Khampha Kaewnara is the chairman of the Board of Directors of the Paddy Bank and has a guideline that we will keep this tradition to the fullest according to tradition, Twelve Annual Festival of Isan people and way of life, or apply it in some cases each year. So there is a continuation. Whether it's dry or rainy, it must be done as a tradition every year. It has started from the year 2529 onwards until today.
		As for the evolution of the Kum Khao Yai (Boon Khun Lan) tradition, Thap Sawai sub-district, it has been encouraged to organize the event with government agencies, educational institutions, organization groups, and people in Thap Sawai Sub-district. Kum Khao Yai tradition Thap Sawai Sub-district, It will be an amalgamation between various merit traditions such as Bun Khun Lan, Bun Khao Pan Kon, Bun Khao Jee, Bun Phawet, Bunthet Mahachat, etc. There is also a combination of various monastic ceremonies to create auspiciousness in each ceremonial period as well As for the various activities that Thap Sawai Tai Subdistrict has carried out for generations, they are as follows:
Activities that carry out the Kum Khao Yai Festival, Thap Sawai Subdistrict
     		1.  Bai Sri Su Kwan Khao ( Rice Ceremony of Welcome) 
Originally, it was a collection of paddy from villagers gathered together. Divided into a pile of rice and a pile of sticky rice and put a tiered rice tier decorated with rice spikes at the top of the pile of rice and arrange a ceremony to bring rice and worship Phra Mae Phosop (goddess of rice). But in the present, there will be a joint separation of the ears of rice to tie them in proportion to the proportion of each part that will be used and used to hammer bamboo bundles again. After that, the ears of rice will be molded with bamboo, tiered rice, or others according to the intended pattern. To decorate a wall of ears of rice Making the castle fall rice There are entrance gates in 4 directions and a rice tiered arrangement. Which has been created by skilled craftsmen who are extremely beautiful. As for the Bai Sri Su Kwan Khao ceremony will perform the ritual by a brahmin who has a particular knowledge of the ceremony There will be a participant in the ritual, namely elderly people, who will join the ceremony as well. It refers to the growth and longevity of agricultural practitioners and farmers for good productivity. During the ceremony to Kwan Khao, the elders attending the ceremony will scoop the rice in the ceremony and put it in a basket called "Kwan Khao" (rice ceremony). The Kwan Khao that has been performed in this ceremony will be presented to the monks for good luck and complete the whole ceremony.
2. Hae khao pun kon tradition (ประเพณีแห่ข้าวพันก้อน)
It is a merit-making tradition according to the lsan peoples heath twelve is a big donation tradition. During this period the water began to recede rice and fish food was pientiful.  The villagers are ready to eat and have fun. This merit making was to pay homage to phrumaphosop who hacl raised farmers. There is also an eatablishment for su kwan khao.  For example tiered rice tiered rined rice tiered and decorate the rice pileaccording to local wisdom that has been passd down from generation to generation.
Bun khao jee tradition (ประเพณีบุญข้าวจี่)
It is another traditonf making by the lsan people that have been passed down from generation to generation.  By respect to mrs purnathasti.  Which was a servent to a rice man who gave alms to the Buddha.  The item that was offered on the way was the paeng jee that I put on a cloth to eat when I was hungry.  There fore mrs punnatasi having eges to see the dharma.  This rice merit making is popularly performed during the thind month. Some will do this on the 15th day of the 3rd lunar month because it is an important day in buddhism is makha bucha day. This merit making is done to manage the stinginess that arises in one’s own mind to disappear
Merit mahachat tradition or boom phawet (ประเพณีบุญมหาชาติ)	
the cause of charitadle giving  in the book phra malai travels to hell and heaven, it is said in one part that  phra malai, he went up to pay homage to phra ket kaew chuiamanee and met phra sri ariya maittra.  To come down to enlightenment as the next lord Buddha.  Addressd the people of the human world.  When he ieerned that people still make merit for alms,he spoke to phra malai saying.
Kum khao yai traditional procession thap sawai subdistrict (ขบวนแห่ประเพณีกุ้มข้าวใหญ่ตำบลทับสวาย)
Every year whan the kum khao yai feativalissched peole in thap sawai subdistrict and within huai thalang district it is well known that there will by parade of the bun kum khao yai tradition, thap sawai sub-distrct.  Travel from thap sawai school to khok phokha temple.  Must start with the ceremong to invite phra upakut from the  wall.  Which phra upakut will by like the presiding Buddha in leading the procession of 
Bun kum khao yai thad it no parade, thap sawai subdistirct has been heldcortiruosly formore than 30 years.
For the kum khao yai traditional procession thapsarai subdistrict .  There are sectors parit cpating in the procession namelg school khok koka temple thap sawai subdistrict.  This is the pride of the local people that everg one can parit cipateand create urity.  Through the expression through this activity.
performing religious rituals (การประกอบพิธีกรรมทางศาสนา)
In organizing the kum khao yai festival,thapsawai subdistrct It is the from of collecting menit together. Which must be accompied by religious ceremoniets,suchas.  Bai sri su kwan rice ceremong the ceremony to invite upakutThe preaching of ten thousand malai of monks, preaching  of  the monk’s charting readirg a thousand spells.the monk’s evening blessing ceremong’ the 3 mahachat sermons of the monks.  these vitual sand activities are all enhancing the prosperity of the event  tapsawai subdistrict has practiced and inherited fora long time.
organize various exhibitions (การจัดนิทรรศการต่างๆ)
In organizing the kum khao yai festivalin thapsawai subdtyict in about 5 years ago. The committee had adimension in the meeting that theremust by an exhidition to provide know ledge in various fields. In tresting about kum khao yai tradition. Both in terms of background and ot her knowledge.  About rice,along with bringing the sufflciency econmy guidelines of king rama ix to educate people.  There are also exhibitions of goumenk ageries.  Brought together in the kum khao yai tradition.  Is an otop exhibition in tapsawai subdistrict and huai thalang district
Which the activites mentioned above.  All of them are knowledre directly and indirectily.  It also stimulates the economy within the community.

Principles and reasons for organizing the event  (หลักการและเหตุผลในการจัดงาน)
Kum khao yai tradition is merit making practioe by the people of the hortheastern region for a iong time.  It is tradition of making merit that farmers harvest rice and will threshitat the rice terrace before taking it to the barn,called boon koon.
By inviting moks to pray ard perform guspicious ceremonie about mount monks and ceremonies to pradice the beliefs and wisdom of ancestors.  In recoghizing and appreciating the importance of agricultance of agricltual occupation.  As well as to encourage feople in the community to come out to Meet and socialize.  For units,unity,and iove among local people the  It is an expression of local wisdom practice that has been passed down until the present.  Tapsawai  subdistrict administrative organization,therefore,together with the people and other relevant government agencies.  And theschedule for organizing the kum khao yai festival for the year 2022 at khok phokha temple ,ban thap sawai village no.1  During the 18th of february 20th ,2022 as the venue for the ceremony  In this year,the festival of kum khao yai 2546 has organized various activites  According to the committee for organizing the big vicefestival for the year 2022. 
The odiective is to maintain the traditns of the livsof farmers and people in thap bloai sub-district.   In each house/klaum there is a temple ora place where morks performceremonies.  Conducted accouing to the traditions of the northeastern region.  Because of the belief that when these traditions are organized,it will enhance the prosperity of onese lf family and happiness.  It is also a pubic relations tour and stimulating the econmg within the tham sawai district.  Organizing tradition of trousard bales of rice during in the morning around 4 a.m  .  People in the village glutinous rice that is molded into lumps and them in the eight directions.  Decoratd with 8 directions of rice tiers 8 fiags of tung as a comporent in the arrangement of the verue.
Activites that that thap sawai subdistricthas cortinued to organize in the past about the bun kum khao yai traditionกิจกรรมที่ตำบลทับสวายดำเนินการจัดที่ผ่านมาอย่างต่อเนื่องเกี่ยวกับประเพณีกุ้มข้าวใหญ่
1. Gaers a paddg and ears of rice from thap sawai sud-district villagers and the general public to decorate piles of rice bowlsand rice tiers accrding to local wisdown from generation to generation .
2. preaching malai ten thousand malai from monks.
3. sangka preaching and a thousand spells from monks.
4. preaching mahachat 3 pulpits from the monks.
5. carrging out the ceremonky to invitie phra upakut out of the water.
6. peparation of the kum khao yai traditional parade in variods forms.
7. the procession of athousand bales of rice.
8. ceremong to kwan rice .
9. performarces at the worship and welome ceremong.
10. the exhibitons are different from government agercies.
11. lmplementation of the monk’s eveing blessing ceremong.
12. perfrmarce of the people of thap sawai subdistrct and huai thalang district.
13. consecrated rice pagoda.
14. folk mor lam klon show.
15. public relations for tourism and participating in activities.In the tradition.
16. faciliating the public such as information and pudlic relations,organizing.
17.screning of honorable guests and participants about public heath.
18.making a grand and beautiful rice castle.

ติดต่อข้อมูลการท่องเที่ยวประเพณีกุ้มข้าวใหญ่ 
1. หมายเลขโทรศัพท์ 044-391374 กองการศึกษา ศาสนา และวัมนธรรม 2. Facebook องค์การบริหารส่วนตำบลทับสวาย 3. เว็บไซด์ tapsawai.go.th 4. Youtube : Review ทับสวาย